Hyaluronic acid (HA) เป็นสารที่กำลังอยู่ในเทรนด์ ตั้งแต่ปีที่แล้ว มาจนปีนี้ คือ 2016 ซึ่ง เทรนด์ที่ว่านี้ก็คือ เทรนด์ผิวฉ่ำน้ำ ฉ่ำวาว
ดังนั้นเราจะพบ สารตัวนี้ในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหลายแบรนด์ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ให้ความชุ่มชื่น และลดเลือนริ้วรอย ทั้งในรูป แบบน้ำตบ, essence, เซรั่ม, โลชั่น, ครีม
Hyaluronic acid คือ อะไร
Hyaluronic acid จัดเป็นสารชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะเจาะจงลงไปอีก ว่า polysaccharide ประกอบด้วยน้ำตาลหลายๆ โมเลกุลมาเรียงต่อกันเป็นสายยาว และตรง (linear polysaccharide) โดยมีส่วนประกอบเป็น น้ำตาลโมเลกุลคู่ (Disaccharide) (1→3)-β-dGlcNAc-(1→4)-β-d-GlcA เรียงตัวซ้ำๆเป็นสายยาว
Hyaluronic acid เป็นสารที่พบอยู่ในร่างกาย ในส่วนของ extracellular metrix (ECM) <อธิบาย ว่า คือ สารเคลือบเซลล์ มีลักษณะคล้ายๆเจล อยู่รอบนอกเซลล์สัตว์ เซลล์หนึ่งกับอีกเซลล์หนึ่ง มีหน้าที่ในการค้ำจุนโครงสร้างเซลล์> , pericellular metrix <อธิบาย ว่า คือ เนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆ เซลล์ chondrocyte ของกระดูกอ่อน> ซึ่ง Hyaluronic acid ขอเรียก ย่อๆ ว่า HA จะทำหน้าที่ รักษาความหนืดของสารน้ำต่างๆในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ข้อกระดูก ดวงตา และควบคุมเกี่ยวกับความชุ่มชื้น และการส่งผ่านโมเลกุลของน้ำใน extracellular metrix
โดยรวมแล้ว หน้าที่หลักๆ ของ HA ในร่างกาย ก็จะเกี่ยวข้องกับการยึดจับโมเลกุลของน้ำ เพื่อช่วยหล่อลื่น ให้ความชุ่มชื้น กับเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ และข้อต่อ
ดังนั้น ด้วยคุณสมบัติ ทางเคมี ที่มีลักษณะเป็น สาร Hydrophilic หรือ Water-loving คือ ชอบน้ำ จึงนิยมนำมาใส่ในเครื่องสำอางดูแลผิว เพราะให้ความชุ่มชื้นดีมาก นอกจากนี้ ยังมีคุณสมบัติเป็น biocompatibility คือ มีความเข้ากันได้ดีกับเนื้อเยื่อในร่างกาย ก่อให้เกิดการระคายเคืองได้น้อย และ เป็น non-immunogenicity
Hyaluronic acid ในรูปแบบทา (Topical) มีกลไก ในการช่วยลดริ้วรอย อย่างไร
HA จะฟอร์มตัวเป็นฟิล์มอยู่บนผิวหนัง ซึ่งจะช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง เนื่องจากโมเลกุลของ HA สามารถยึดจับน้ำได้มาก และ สามารถป้องกันการสูญเสียน้ำออกจากผิวหนัง คล้ายๆกับ กลไกการ occlusive ซึ่งการที่ผิวมีความชุ่มชื้นเพียงพอจะส่งผลให้เซลล์ในชั้นหนังกำพร้าและหนังแท้ มีความเครียดภายในเซลล์ที่ลดลง และ ยังช่วยให้เกิดความรู้สึกสบายผิว (Soothing effect) โดยการลดอุณหภูมิที่ผิวหนังลง และ HA ที่ฟิล์มอยู่บนผิวหนังจะช่วยค้ำจุนโครงสร้างผิวหนังให้มีความแข็งแรงมากขึ้น